ประเภทสถาปนิก นักศึกษา บุคคลทั่วไป รางวัลชมเชย


“พระ(ไม่)กระโดดกำแพง”

โดย
1.นายนัฐที พจน์สุข
2.นายปกรณ์ จันทร์ตรี
3.นางสาววรกานต์ ก้อนนาค
4.นายกรินภ์ พราหมณี
5. นายราเชนทร์ จันทร์เจือศิริ
6.นายนนทิยุต ทองมา

        บางอย่าง “กั้น” สองฝั่งให้ออกจากกัน เป็นไปได้ตั้งแต่ เชือกบางๆ ที่กั้นไว้เป็นขอบเขต ไปจนถึง เขื่อนขนาดใหญ่ที่กั้นระหว่างสายน้ำกับผู้คน ทำให้เกิดบทบาท 2 พื้นที่ที่ต่างกันไปตามวิถีปฏิบัติของตัวเอง แต่กลับขาดกันอย่างสิ้นเชิงไม่ได้ เช่น กำแพงเมืองจีนที่เป็นปราการแข็งแกร่งเพียงไหน ก็ต้องมีประตูสูงใหญ่คอยรับส่งทหารที่ออกไปรบและกลับเข้ามา หรือ แขกบ้านแขกเมืองผู้นำวัฒนธรรมความเจริญมาแลกเปลี่ยนสู่จีนแผ่นดินใหญ่
        น้อยสถานที่ ที่จะมีความเข้มข้นของบทบาทและต่างกันอย่างสุดขั้ว ย่านถนนข้าวสาร กับ วัดชนะสงครามวรวิหาร แหล่ง Street ที่เป็นจุดหมุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวคนไทยและเทศ กลับมีพระอารามหลวงชั้นโทตั้งอยู่ บางกลุ่มคนที่มาท่องเที่ยวหรือพ่อค้าแม่ขายในทุกๆวันก็ไม่ได้สังเกตอะไร แต่มีนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งที่มาเสพวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างน่าฉงน ร้านอาหารฝั่งตรงข้ามกำแพง นั่งชมความใกล้ชิดผิดแปลกแตกต่างกันของวิถีที่ไม่น่าอยู่กระทบไหล่กันได้ สิ่งที่คั่นกลางระหว่างวิถีอันเข้มข้นในทุกๆวันนั้นคือ “กำแพง” และเชื่อว่าหลายคนมองข้ามกำแพงที่เป็นพระเอกในการมีอยู่ของ 2 วิถีนี้
        กำแพงทำหน้าที่ได้ดีมาตลอดการมีตัวตนของมันเองในบริบทที่เป็นมิตร ปัจจุบันบริบทรอบข้างเปลี่ยนไป วิถีของพระสงฆ์จากที่เคยเดินรอบนอกกำแพงวัดแล้วดูไม่ขัดกับความรู้สึก กลับกลายเป็น ไม่เหมาะสมหากเดินเบียดเสียดในที่ที่เป็นอบายมุขขัดกับวิถีตัวตน
        ถ้า... กำแพงสามารถจัดสรรตำแหน่ง (Position) ของ 2 ฝั่ง ให้ถูกที่ถูกทางตามสถานการณ์รอบนอกที่เปลี่ยนไปแต่มิได้ปรับเปลี่ยนวิถีของแต่ละฝ่าย คนรู้สึกถึงความส่งเสริมการมีตัวตนของวัดและบรรยากาศอันน่าจรรโลงไว้ วิถีพ่อค้าแม่ขาย ผู้ประกอบการร้านค้าก็ดำเนินต่อไป พระก็ไม่จำเป็นต้องออกมาด้านนอก แต่กลับถูกทำให้เดินในทางที่เหมาะสม พระ(ไม่)กระโดดกำแพงมาข้างนอกแต่กลับเดินอยู่(บน)ขอบเขตของตนเอง คนก็ต้องทำมาหากิน ซื้อขายเหล้ายาปลาปิ้งกันต่อไป และทั้งสองฝั่งก็สื่อสาร เชื่อมต่อกันอย่างงดงาม และสุภาพ