ประเภทสถาปนิก นักศึกษา บุคคลทั่วไป รางวัลชมเชย


“Green Up Rooftop 2030”

โดย นายรติ จิรานุกรม

        ในบริบทเมือง วิถีชีวิตของผู้คนใช้เวลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอาคาร เมืองจึงเต็มไปด้วยป่าคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ชูยอดรับแสงและลมแทนที่ผิวดินและผิวใบมากขึ้น เรื่อย ๆ จนในวันหนึ่ง อาคารเหล่านั้นจะกลายเป็นมรดกของเมืองไปโดยปริยาย
        สถาปัตยกรรมในยุคโมเดิร์นของเมืองเชียงใหม่ ได้เริ่มต้นชูช่อขึ้นมาในประมาณปี พ.ศ. 2427 และ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ในอดีตอาคารเหล่านี้ จะเป็นอาคารที่มีความสำคัญกับเมือง แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เราเห็นจน ชินตาและมองข้ามไป
        ปัจจุบัน ในย่านช้างม่อย จังหวัดเชียงใหม่มีอาคาร คอนกรีตในยุคโมเดิร์นที่มีอายุมากถึง 50 ปี บางอาคารยังคงใช้งานในลักษณะเดิมทุกประการ บางอาคารก็เปลี่ยนเจ้าของและ ถูกเติมการใช้งานในลักษณะใหม่เข้าไปในอาคาร บางอาคารถูกทิ้งร้าง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงมีจุดร่วม เหมือนกันคือ ชั้นดาดฟ้าของอาคาร ที่ไม่ได้ถูก ใช้งานเติมประสิทธิภาพและถูกละเลยไป
        เรามองเห็นดาดฟ้าของอาคารที่ต่อกันเป็นแนวยาว และเป็นผืนกว้างนั้นเป็นมรดกของเมืองที่สำคัญ เพราะดาดฟ้าเป็นผิวของเมือง หากผิวของเมืองมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากผิวดินและพื้นที่สีเขียวกลายเป็นดาดฟ้ามากขึ้น อาจส่งผลถึงอุณหภูมิเฉลี่ยของเมือง และทำให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนได้
        เราจึงตั้งโจทย์ว่าจะเป็นไปได้ไหมหากกิจกรรม กลางแจ้งที่เคยอยู่บนผิวดินจะถูกสร้างสรรค์ใหม่ให้ ถูกใช้งานบนผิวดาดฟ้าอาคาร และเปลี่ยนผิวของเมืองจากคอนกรีตร้อน ๆ ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ที่ร่มรื่นและเต็มไปด้วยชีวิตชีวา