“REFOCUS HERITAGE : มองเก่า ให้ใหม่”

HERITAGE หรือ มรดก คือสิ่งที่มีคุณค่าที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคนรุ่นก่อน ที่ส่งมอบมาให้เราในปัจจุบัน และสมควรที่จะ รักษาไว้เพื่อส่งต่อไป ให้กับคนในรุ่นต่อไปได้ด้วยความภาคภูมิใจ แต่ตามความเข้าใจของคนส่วนมาก มักจะนึกถึงเฉพาะแต่โบราณสถาน ที่คิดว่าห้ามแตะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ไกลตัว จนกลายเป็นความกลัวที่จะเข้ามาจัดการ และลืมไปว่ามรดกก็คือ สมบัติของ ทุกคนที่ควรมีส่วนในการดูแลรักษา และนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ ในรูปแบบวิธีการที่แตกต่างกันไป ตามความเหมาะสมด้วยศาสตร์ของการออกแบบ และนี่คือบทบาทที่สำคัญของสถาปนิกทุกคน ไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มสถาปนิกอนุรักษ์เท่านั้น ... จึง ถึงเวลาของการมา refocus heritage และมองเก่า ให้ใหม่ ที่ใช้เป็นหัวข้อหลักของนิทรรศการในงานสถาปนิก’ ๖๔ ในปีนี้ นิทรรศการนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความเข้าใจใหม่ที่ถูกต้อง กับสิ่งที่เราเคยมองว่าเป็นของเก่า ๆ แล้วขีดเส้นให้อยู่แต่ในกรอบเดิม ๆ เพื่อปรับมุมมองการรับรู้ไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน ทั้งปรับความคมชัด (focus) ให้เข้าใจอย่างถูกต้องและชัดเจน ทั้งเจาะลึกในรายละเอียด (zoom) ในเรื่องที่ตนสนใจ รวมทั้งขยายขอบเขตมุมมองที่กว้างขึ้น (wide angle) ให้ค้นพบมรดกสถาปัตยกรรม ที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน มีทั้ง “ของเก่า” ที่เราอาจจะเคยมองข้าม และ “ของใหม่” ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการคุณค่าของมรดก การออกแบบเพื่อประโยชน์สูงสุดของการใช้งานในปัจจุบันและอนาคต ด้วยความสมดุลระหว่างความเก๋าของอาคารเก่า และความเก๋ของอาคารใหม่ให้อยู่คู่กันไปได้อย่างยั่งยืน


- นิทรรศการ "เฉลิมราชสุดา สถาปัตยานุรักษ์"
- นิทรรศการ "วิกฤตมรดกบนโลกออนไลน์"
- นิทรรศการ "ฟื้นชีวิตมรดก"
- โรงหนังไม้ไผ่ มรดก'64
- นิทรรศการภาพถ่าย "รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี ๒๕๖๓ - ๒๕๖๔"
- นิทรรศการ "พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท: ความเป็นลูกผสมที่มากกว่ารูปแบบ"
- โครงการประกวดแบบ "กู้ชีพมรดกสถาปัตยกรรม Heritage in Danger"
- โครงการประกวดแบบ "The Everyday Heritage"
- นิทรรศการ "รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๓"
- การบรรยายวิชาการนานาชาติ
- สินค้าและของที่ระลึก

ดาวน์โหลดสูจิบัตร








Exhibition Design Concept
Supermachine studio


ถ้าจะพูดถึงการออกแบบนิทรรศการ Refocus Heritage เวอร์ชั่น physical ครั้งนี้ เราอาจจะต้องปรับโหมด perception เรานิดหนึ่ง ช่วงที่เราทำการออกแบบนั้นคือเรียกว่าโลกนี้ยังไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า “โควิต19” เลย จำได้ว่า agenda ในสังคมเราช่วงปลายปี 2019 คือกำลังคุยกันเรื่องการยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกในเซเว่นกับห้างสรรพสินค้าอยู่เลย อะไรคือ New normal, Social Distance ไม่เคยรู้จัก ตอนนั้นไอเดียหลักในการออกแบบเริ่มมาจากการวัสดุจริงๆ ในที่นี้คือกล่องกระดาษน้ำตาลที่เราใช้กันมากมายในการสั่งซื้อข้าวของออนไลน์ เราอยากนำกล่องกระดาษที่มีขนาดแตกต่างกันมาใช้สร้าง pavilion ต่างๆ ด้วยระบบ brick โดยใช้ระบบรัดด้วยเชือก PVC ดังนั้นเมื่อเสร็จนิทรรศการแล้ว โครงสร้างนิทรรศการต่างๆก็สามารถจะรื้อถอนง่ายๆ แล้วสามารถนำกลับไปใช้เป็นกล่องอย่างที่เราคุ้นเคยกัน ตั้งแต่ pavilion แรกก็จะเห็นเป็นกำแพงอิฐกล่อง เป็น introduction messege เกี่ยวกับ theme ของนิรรศการ โดยที่มองต่อเข้าไปจะเห็นแลนด์มาร์คที่เป็น installation คล้ายๆ กับฐานเจดีย์เป็นโครงสร้างที่สูงที่สุดในงานซึ่งก็สร้างขึ้นจากกล่องกระดาษเช่นกัน ตรงนี้จะวางอยู่ข้างๆ ลานกิจกรรมหลากหลาย ก่อนหน้าแลนมาร์คนี้จะมี Theme pavilion ที่มีเนื้อหานิทรรศการหลักๆ ที่เกี่ยวกับ Refocus Heritage ถ้าพูดถึงการออกแบบ เราคิดว่าในเมื่อเรานำกล่องพัสดุมาใช้เป็นวัสดุหลักแล้ว ก็ควรจะเลือกเอาวัสดูที่เกี่ยวข้องกันมาใช้ด้วยให้เข้ากัน เราออกแบบเป็นpavilion หลังคาจั่วที่เรียบง่ายที่ห่อด้วย bubble wrap อย่างเดียวกับที่ใช้ห่อพัสดุเช่นกัน ส่วน pavilion เล็กใหญ่ที่เหลือก็จะใช้ภาษาในการออกแบบเดียวกัน ที่แตกต่างคือ pattern ในการประกอบ brick เหล่านั้น และลักษณะของโครงสร้างที่จะเล่าเรื่องเนื้อหาของแต่ละหัวข้อ